13 จุดบรีฟคอนเทนต์ [+Content Brief Template] เพื่องานมาตรฐานสูง

คนอื่นเขียนให้แล้วออกมาไม่ดีเท่าเราเขียนเอง? จ้างนักเขียนฟรีแลนซ์แล้วงานออกมาใช้จริงไม่ได้? ปัญหาอาจจะเป็นเพราะบรีฟที่ไม่ชัดเจน วันนี้ SEO โบ๊ะบ๊ะ มี Template สำหรับบรีฟคอนเทนต์ที่เราใช้เองจริงมาให้

คอนเทนต์บรีฟคืออะไร?

Content Brief คือเอกสารที่บอกอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่เราต้องการในคอนเทนต์นี้คืออะไร เสร็จคือแบบไหน เป็นเครื่องมือการสื่อสารเพื่อให้นักเขียน คนทำงาน ได้เข้าใจความต้องการของเรา

ถ้าเราบอกไปแค่ว่า “อยากได้แบบนี้” 2 บรรทัดจบ ไม่มีทางที่นักเขียนจะทำออกมาได้แบบที่เราต้องการ เพราะมาตรฐานของเรากับคนเขียนนั้นต่างกัน ด้วยประสบการณ์ โฟกัส ความแคร์ ค่าตอบแทน และข้อจำกัดที่ต่างกัน

3 ข้อดีของการบรีฟคอนเทนต์ละเอียดด้วยเทมเพลต

การใช้บรีฟที่ละเอียด แบบใน Content Brief Template ที่เมทำมาให้ จะช่วยให้

งานเร็วขึ้น

คุณอาจจะใช้เวลาบรีฟมากขึ้น แต่พอได้งานกลับมา มันก็จะใกล้เคียงกับมาตรฐานคุณมากขึ้น ลดความเสี่ยงที่ต้องแก้กลับไปกลับมา เสียเวลาทั้งคุณและคนทำงาน

ตรงเป้า งานมาตรฐานใช้ได้จริง

บางทีจ้างนักเขียน ได้งานกลับมาแล้วอาจจะไม่ได้ใช้ กองไว้เฉยๆ ทั้งที่จ่ายเงินไปแล้ว เพราะไม่มีเวลามาคอมเมนท์แก้ให้ละเอียด หรือรู้สึกว่าสิ่งที่ได้มามันห่างจากความเป็นจริงที่ต้องการเหลือเกิน บรีฟละเอียดจะช่วยเชื่อมสะพานนี้ได้

ลงทุนเวลา เพื่อการเติบโต

บรีฟดี = ช่วยกระจายงานได้ดี = ปลดปล่อยเวลาของคุณให้เป็นอิสระ มาทำงานที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจได้มากกว่า เติบโตได้อีกเลเวล โดยไม่ต้องพะวงหลัง

13 สิ่งที่ต้องมีใน Content Brief

บรีฟคอนเทนต์ให้ละเอียดที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด โดยต้องเกิดจากคุณเห็นภาพชัดเจนก่อนว่าต้องการอะไร ถึงจะสื่อสารออกมาได้ แต่บางทีเวลางานสุมมันยากที่จะคิดออก คราฟต์ไม่ไหว ทำตามเมในนี้ได้เลย

Content Brief แบบ SEO โบ๊ะบ๊ะ ต้องมีอะไรบ้าง?

1. จุดประสงค์ เป้าหมายของคอนเทนต์นี้

เป็นการวางภาพให้ตรงกัน ว่าเราจะมุ่งไปทางไหน ใส่ Context ข้อมูลว่าเราทำอะไรไปทำไม

2. คนอ่านคือคนแบบนี้ จะเจอคอนเทนต์นี้ตอนที่…

เวลาเขียน จะได้นึกภาพออกว่าสื่อสารกับใคร เขียนให้สักคนนึงเข้าใจ งานออกมาจะชัดเจน (คล้ายกับ Persona ในวงการ UX)

3. คีย์เวิร์ดเป้าหมาย

งานเขียนเพื่อ SEO จะมีคีย์เวิร์ดเป้าหมายอยู่แล้ว ใส่ลงมาในนี้ ให้นักเขียนไปรีเสิร์ชต่อได้ ว่าต้องทำสไตล์ไหน คู่แข่งเป็นแบบไหน ทำยังไงถึงแตกต่างและมีโอกาสชนะ

4. แนวทาง มุมมอง ประเด็นหลักที่ต้องการสื่อ

เริ่มต้นด้วยอะไร ตรงกลางอยากให้มุ่งไปทางไหน ปลายทางอ่านจบแล้วอยากให้คนทำอะไร เหมือนวางแผนไว้คร่าวๆ ก่อนไปเที่ยว นักเขียนจะได้เข้าใจโฟลว และเรียงออกมาได้แบบที่เราต้องการ

5. สิ่งที่ต้องพูดถึง (หัวข้อย่อย/Subheadings)

เขียนได้เลยว่าหัวข้อย่อยที่อยากให้พูดถึงมีประเด็นอะไรบ้าง นักเขียนจะได้เอาไปใช้ แล้วแตกประเด็นพารากราฟ หรือ ลิสด้านล่าง เพื่อขยายหัวข้อนี้

//สำหรับ SEO: ตรงนี้คือ H2 H3 H4 มาจากเราแตกประเด็น + คีย์เวิร์ด Long-tail + People Also Ask

6. สิ่งที่ไม่ต้องพูดถึง

งานเขียน SEO ไม่ต้องยาวจัด คนอ่านต้องมางมหาข้อมูลในดงตัวหนังสือ เอาเน้นๆ บางอย่างเกิน Scope ไปไม่ต้องพูดถึงก็ได้ เช่น เขียนถึงรายได้ของคนทำเว็บ โฟกัสแค่รายได้ ไม่ต้องพูดไปถึงสกิลที่คนทำเว็บต้องมี

//สำหรับ SEO: Search Intent ต่างกัน ให้เขียนแยกคอนเทนต์กันนะ

7. อ่านจบแล้วอยากให้คนไปต่อที่ไหน

(CTA – Call to action) ต้องใส่ทุกครั้ง ระบุลิงก์ที่สำคัญ อยากให้คนไปต่อ ช่วยนำทางให้ไปง่ายๆ ตรงนี้

8. Layout Design Font รูป วิดีโอ อินโฟกราฟฟิค ฯลฯ ให้สมบูรณ์ขึ้น

อะไรที่เราต้องเน้น อยากมีเพิ่มเพื่อให้คอนเทนต์เข้าถึงได้ง่าย อ่านง่าย หรือตรงตามที่ลูกค้าต้องการ มาใส่ตรงนี้ การจัดฟอนต์ Format ที่ดี ช่วยให้เราดูเป็นมืออาชีพขึ้นด้วยนะ

/ฟอนต์แนะนำ ภาษาไทย เมชอบ Bai Jamjuree หรือ Sarabun TH ขนาด 12-14

9. โทนภาษา:

ภาษาที่อยากให้ใช้ในคอนเทนต์นี้ เป็นทางการแค่ไหน? เช่น ฟิลอินฟลู บริษัทมหาชน องค์กรของรัฐ

บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Wise เค้าจะมีหน้า Tone of voice ไว้เลย ถ้าเราไม่มีเขียนแบบนี้ไว้ก่อนแล้ว ก็เขียนบอกในบรีฟนี้ที่กำลังทำ หรือใส่ลิงก์ไปคอนเทนต์ที่ใช้สไตล์ภาษาแบบที่เราต้องการมาให้ตามไปดูก็ได้

10. คู่แข่งที่ติด Top 3 อยู่ก่อน

การบอกคู่แข่งในบรีฟด้วย นักเขียนจะได้รู้ว่าทำยังไงถึงจะแตกต่าง มีจุดขาย มีคุณค่าให้คนอ่านมากกว่า = มีโอกาสไปสอย Top 3 ลงมาได้

11. URL อื่นๆ ที่อยากให้แวะไปดู + เพราะอะไร

เราอาจจะชอบอินโฟกราฟฟิคแบบนี้ การจัดเลย์เอาท์แบบนี้ หรืออาจจะมีข้อมูลแบบที่เราอยากให้เอามาใส่ในคอนเทนต์ด้วย บอกให้ชัดเจนว่าให้ไปดู URL ไหนต่อ ตรงไหน เพราะอะไร

12. Internal Link

คำแบบนี้ > ลิงก์ไปที่

การใส่ Internal Link เป็นการช่วยพาคนไปเข้าใจให้ลึกขึ้น ในคอนเทนต์อื่นที่เราเคยเขียนไว้ อาจจะเป็นหน้าสินค้า บริการหลัก (Money Page) ของเรา หรือเป็นบทความอื่นที่เราเคยเขียนไว้ลึกๆ เกี่ยวกับบางหัวข้อได้

สำหรับ SEO: จัดลิงก์ให้ดี เป็นการบอก Google ว่า หน้าไหนสำคัญ ควรเอาไปติดอันดับ แบบแอดวานซ์คือ Topic Cluster

Tips: เวลาทำ Internal Link ให้คิดว่าเจอคำนี้ให้ลิงก์ไปแค่ 1 ครั้งพอ (ไม่ลิงก์ไปที่เดียวกันหลายรอบใน 1 บทความ)

13. ขอเน้นสุดท้ายว่า…

อยากอะไรเพิ่ม ให้เน้นอะไร หรือให้กำลังใจ ใส่ลงไปตรงนี้

เทมเพลตคอนเทนต์บรีฟ

มาดาวโหลดเทมเพลตที่ SEO โบ๊ะบ๊ะใช้จริงได้ที่นี่: https://go.chalakornberg.com/seo-boba-content-brief

วิธีใช้คอนเทนต์บรีฟเทมเพลตคือ

  1. เขียนอันนี้ให้ครบที่สุดเท่าที่จะทำได้
  2. ส่งต่อให้นักเขียน
  3. เอามาปรับ SEO ตบท้าย เพื่อส่งมันไปสร้างผลลัพธ์ให้ได้มากที่สุด

อยากได้เทมเพลตช่วยประหยัดเวลาอีก? อยากเข้าใจ SEO มากกว่านี้จะได้มีโอกาสเห็นคอนเทนต์ของเรามากสุด? อยากทำ SEO วางคอนเทนต์แบบให้เห็นผลธุรกิจได้จริง? มาดูคอร์สเรียน Comprehensive SEO ในตำนานของเรา

บรีฟละเอียดขนาดนี้ เขียนเองง่ายกว่า?

ถ้าคุณถนัดเขียน ก็เขียนเลย (และบางคอนเทนต์ยังไงก็ให้คนอื่นเขียนไม่ได้) แต่สำหรับคอนเทนต์บางชิ้นที่ส่งต่อได้ การทำบรีฟที่ดี + เทรนคน เป็นการลงทุนเวลา สร้างทรัพยากรบุคคลที่คุณไว้ใจได้ ไม่ต้องพะวง ประหยัดเวลาและพลังงานต่อเนื่องสะสมตลอดหลายปีข้างหน้า

การบรีฟละเอียด จะเป็นการเทรนนักเขียนของคุณให้รู้ว่ามาตรฐานที่คุณต้องการคืออะไร ทำงานกันไปเรื่อยๆ ก็จะไม่ต้องบรีฟละเอียดมากแล้ว งานที่ออกมาก็จะตรงใจมากขึ้น เพราะรู้ทางกัน

เขียนบรีฟเสร็จแล้ว เอาไปให้ AI เขียน แทนนักเขียนได้ไหม?

เอาคอนเทนต์บรีฟที่ละเอียดให้ AI เขียน ก็มีโอกาสจะได้งานดีกว่าบรีฟไม่ละเอียด แต่ถ้าเทียบกับคนเขียนแล้ว มีโอกาสมากที่ AI จะเขียนออกมาได้แบบวานิลาข้าวสวย ไม่มีรสชาติ เป็นค่าเฉลี่ยๆ

ทำให้ติดอันดับระยะยาวยาก โดยเฉพาะถ้าคู่แข่งมนุษย์เขียนแล้วคราฟต์กว่า (แถมล่าสุด Google เริ่มจริงจังกับการลดคะแนนคอนเทนต์ AI ให้ต่ำๆ)


Content Brief ที่เมเอามา นี่รวมรวบมาจากการบรีฟที่ SEO โบ๊ะบ๊ะใช้จริง ได้งานออกมาดี ไว แก้น้อย ลูกค้าแฮปปี้ โหลดไปใช้กันได้ฟรีๆ

หรือถ้าคุณอยากได้ที่ปรึกษา ช่วยเป็นโค้ชตอบคำถาม SEO ไม่ต้องสู้ทำอยู่คนเดียว ในราคาสุดเฟรนด์ลี่ ดู House of SEO คอมมูกรุ๊ปโค้ช

หรือคลิกติดต่อ ร่วมงานกันแบบอื่น

//โพสต์นี้ Dedicated to ไตเติ้ล เพื่อนและลูกค้าผู้น่ารักกับเราเสมอ ขอให้การเติบโตขั้นต่อไปของคุณมันสวยงามและสำเร็จ

Chalakorn Berg

ตังเม SEO โบ๊ะบ๊ะ - ชื่อจริง ชลากร วรรณโภคิน เบิร์ก

SEO Geek และ Organic Growth Builder ได้ช่วยสร้างการเติบโตที่เห็นผลจริง ยั่งยิน และดีต่อโลก กับธุรกิจชั้นนำของประเทศ ตั้งแต่ SMEs, Tech Startup, และบริษัทมหาชน

ประสบการณ์ 30+ ปี คลุกคลีกับธุรกิจตั้งแต่ลืมตาดูโลก

ตั้งใจที่จะใช้ความรู้ พลังงาน ประสบการณ์ทั้งหมดที่มี เพื่อช่วยให้ผู้คนและธุรกิจเติบโตอย่างสร้างสรรค์ เป็นธรรมชาติ ยั่งยืน ด้วยวิธีการและคำแนะนำที่สนุก เข้าใจง่าย ใช้ได้ทันที

ข้อความตรงนี้นิยามเราไม่ได้ อยากให้ทักมาคุยกัน :))

ติดตามคอนเทนต์ที่ดีแบบนี้ต่อ ทางอีเมล
(มีคอนเทนต์พิเศษให้ด้วย)

เคารพเวลาคุณ ส่งแต่ของอร่อยให้ เมสัญญา

บทความที่คุณน่าจะได้ประโยชน์ไปอีก

ตังเม ·
SEO โบ๊ะบ๊ะสไตล์ by Chalakorn Berg
เติบโตอย่างสร้างสรรค์ เป็นธรรมชาติ ยั่งยืน