การทำ SEO นั้นก็เหมือนการหาแฟนดีๆ ซักคนนั่นแหละค่ะ เราต้องลงทุนเวลาและความตั้งใจกว่าจะเห็นผล แต่ว่าเมื่อเราได้ติดหน้าแรกของ Google แบบออแกนิคแล้ว มันก็จะตอบแทนความตั้งใจของเราไปยาวๆ ด้วยยอดขายและ Traffic ที่ต่อเนื่อง ไม่ได้ต้องมาปรับตลอด มันเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่หวือหวา แต่ว่ามั่นคงให้เราได้อุ่นใจได้ 💙 แต่ใครที่เคยประสบปัญหากับการเริ่มทำ SEO แล้วไม่เข้าใจ หรือเข้าคอร์สต่างๆ แล้วตามไม่ทันเพราะว่าไม่ค่อยเข้าใจคำศัพท์ วันนี้เราจะลองมาดูคำศัพท์ทั้งหมดที่สำคัญกับการทำ SEO แบบครบถ้วน อัปเดตในที่เดียว แล้วมาติดอันดับหนึ่งไปด้วยกันนะคะ 🤗
คำทั้งหมดจะเรียงอันดับตามภาษาอังกฤษจาก A-Z นะคะ อยากหาคำไหนเป็นพิเศษกด CTRL+F หรือ CMD+F เพื่อหาได้เลย
ถ้าสนใจเรื่อง SEO แบบเข้าใจจริงๆ จากประสบการณ์คนทำงานจริงๆ เมมีสอนอยู่นะคะ ทุกครั้งเมจะบอกคนเรียนว่าลงแล้ว ไม่ต้องลงซ้ำอีก เพราะถ้าเรียนจบ ทุกคนก็จะเข้าใจจริงๆ ตั้งแต่พื้นฐาน หลักการ และแนวคิดทั้งหมด เรื่องที่สอนอัปเดตจนชั่วโมงสุดท้าย แถมมี SEO Checklist ให้เอาไปทำต่อได้อย่างมั่นใจค่ะ :)) ดูข้อมูลคอร์สเรียน SEO เพิ่มได้ที่นี่เลย 🙂
Algorithms
Algorithms นั้นก็คือกระบวนการที่ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่เราได้มา เพื่อแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง ซึ่งในมุมของ SEO ก็จะหมายถึงตัวที่ช่วยจัดการข้อมูลและแสดงผลการค้นหา ซึ่ง Google ก็จะมี Algorithms ของตัวเอง ที่ใช้จัดอันดับว่าเว็บไซต์ไหนจะขึ้นมาในอันดับที่เท่าไหร่ เวลาค้นหาข้อมูล ซึ่ง Google ก็จะมีการอัปเดตเจ้าตัว Algorithms นี้ค่อนข้างบ่อยเลยทีเดียว เรียกได้ว่ามีการจัดเปลี่ยนอันดับกันทุกวัน แต่ว่าจะมีการอัปเดตใหญ่ๆ ปีละ 3-4 ครั้งเท่านั้น ถ้าอยากรู้ว่าวันไหนมีการอัปเดตเยอะ ลองติดตามได้ที่ Moz Cast ถ้าวันไหนในเว็บบอกว่ามีอากาศแปรปรวน นั่นก็คือมีการอัปเดตให้อันดับเปลี่ยนแปลงค่ะ
Alt text
Alt text ย่อมาจาก Alternative text ซึ่งมันก็คือคำที่เราใช้อธิบายรูปนั่นเองค่ะ เป็นโค้ดที่เราใส่ไว้หลังบ้าน คนอ่านจะไม่เห็น แต่ว่าจะช่วยให้ Google เข้าใจได้ว่ารูปของเรานั้นคือรูปอะไร ถ้าบทความหรือหน้าเว็บของเรามีรูป อย่าลืมใส่ Alt text ลงไปด้วย จะช่วยให้หน้านั้นๆ SEO Friendly ขึ้น แต่ต้องเป็น Alt text ที่เกี่ยวข้องกับบทความของเราจริงๆ ด้วยนะ ไม่ใช่ เขียนอย่างนึง แต่รูปเป็นอีกอย่าง ถ้าไม่รักก็อย่าหลอกกันเลย
Anchor text
Anchor text ก็คือคำที่เราใช้ลิงก์ไปที่อื่น เป็นคำที่เราคลิกบนคอนเทนต์แล้วหน้าเว็บจะพาเราไปหน้าอื่นค่ะ ยกตัวอย่างเช่นรูปด้านล่างนี้ ถ้าเรากดคำว่า PageSpeed Insights มันก็จะลิงก์ไปหน้าของ Google ที่เล่าเรื่องนี้ไว้ ตัว Anchor text ก็คือคำว่า PageSpeed Insights นี่เองค่ะ
Backlink
Backlink อินยัวแอเรีย! ผิด! Backlink ก็คือการที่เว็บอื่นลิงก์มาหาเรา เรียกอีกอย่างได้ว่า Inbound Link ค่ะ ซึ่ง Backlink นี่เองที่เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยหลัก ซึ่ง Google ใช้คำนวณอันดับ เค้ามองว่าเป็นเหมือนการโหวตจากเว็บไซต์อื่นๆ ค่ะ ว่าเราทำคอนเทนต์ได้ดี มีประโยชน์ และน่าเชื่อถือในเรื่องนั้นๆ ลองมาดูเรื่อง Backlink แบบที่อ่านจบแล้วเข้าใจ ทำได้เลยกันค่ะ ตัวอย่าง Backlink ก็เช่น ข้างล่างนี้เลย เวลาที่เรากดลิงก์จากคำไปเว็บอื่นค่ะ
Black hat SEO – สายดำ
การทำ SEO สายดำไม่ใช่เทควันโด้! แต่คือการทำ SEO ที่ผิดกฎของ Google นั่นเองค่ะ
ตัวอย่างการทำ SEO สายทำก็เช่น แทนที่จะค่อยๆ ทำคอนเทนต์หรือหา Backlink อย่างเป็นธรรมชาติ สายดำจะพยายามปั่นลิงก์ เช่นการไป spam เว็บไซต์ต่างๆ เพื่อจะเอา Backlink กลับมาแล้วพยายามทำให้เนียน หรือ การแสดงคอนเทนต์อย่างนึงให้ Google ดู แต่ว่าพอคนคลิกเข้ามาก็เป็นอีกแบบ เพราะว่าที่จริงเป็นคอนเทนต์ที่ไม่มีคุณภาพ
การทำ SEO สายดำอาจจะช่วยให้เว็บไซต์ของเราอันดับดีขึ้นได้ก็จริง แต่หลายครั้งก็แทบไม่มีผลอะไร เพราะ Google จับแสปม วิธีเนียนๆ เก่งขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ ที่สำคัญคือมันไม่ยั่งยืน และอาจจะเสี่ยงถูก Google ลงโทษได้ง่ายๆ เลย แถม Google ก็เป็นคนที่ใจแข็งไม่น้อย เลิกกันเมื่อไหร่ นี่ยากมากๆ กว่าจะให้อภัย แล้วกลับมาติดอันดับดีๆ ได้อีกนะ มาทำตามกฎกันด้วย SEO สายขาวดีกว่า
Crawling
เอาจริงๆ มันแปลว่าคืบคลานอะไรแบบนี้ค่ะ แต่ในวงการ SEO Crawling นี่เราหมายถึงการที่ Google หรือเว็บไซต์ต่างๆ เข้ามาเก็บ ตรวจสอบหรือดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราไป เช่น ก่อนที่ Google จะรู้ว่าเว็บของเรานั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร Google ก็จะต้องเข้ามาตรวจสอบเนื้อหาในเว็บเรา หรือทำการ Crawling ค่ะ
Domain Authority/Domain Rating (DA/DR)
DA และ DR ก็คือวิธีที่เว็บไซต์ต่างๆ ใช้จัดอันดับเว็บของเรานั่นเองค่ะ ปกติแล้วจะมีการจัดอันดับจาก 0-100 ว่าเว็บของเรามีคุณภาพ และมีโอกาสในการติดอันดับ Google มากเท่าไหร่ โดยปกติแล้วเราจะใช้เทียบกับเว็บอื่นๆ เช่น Wikipedia มี DR 91 ส่วนเราเป็นเว็บใหม่เลย DA ก็จะเริ่มจาก 0 แบบนี้ถ้าเราต้องแข่งติดหน้าแรกกับ Wikipedia ตรงๆ ก็น่าจะยากมากๆ เลย แต่ละเว็บไซต์ก็จะมีวิธีการคำนวณ DA/DR ที่ต่างกัน โดย Moz จะใช้ DA ส่วน Ahrefs จะใช้ DR แต่หลักๆ ก็จะคำนวณโดยใช้ Backlink ค่ะ ถ้าเว็บไหนมี Backlink เยอะ ก็จะ DA/DR เยอะไปด้วย โดย DA/DR นี้ ไม่ใช่ Metrics ทางการจาก Google นะคะ แต่ก็มีประโยชน์มากทีเดียว
ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราต้องการรู้ข้อมูลของแต่ละหน้าแทนทั้งเว็บ ก็สามารถดูได้เช่นกัน โดย Moz จะแสดง PA หรือ Page Authority ส่วน Ahrefs จะแสดง UR หรือ URL Rating ค่ะ
Dofollow
Dofollow คือ Backlink ที่ใคร ๆ ก็อยากได้ หมายความว่าลิงก์ที่เราได้มา จะได้รับพลังมาจากเว็บที่ลิงก์มาหาเราด้วยค่ะ เช่นถ้าเว็บคุณภาพดีมาก ๆ อย่าง BBC เขียนข่าวถึงเว็บไซต์ของเราแล้วลิงก์มา แบบนี้เว็บเราก็จะดูคูลไปด้วยค่ะ (คูลสอนวิชาอะไรอะ? — นั่นมันครู!)
Featured snippets
เวลาเราค้นหาอะไรใน Google แล้วบางทีมันมีกล่องข้อความขึ้นมาอธิบายเลย แบบที่เราไม่ต้องคลิกเข้าเว็บไปถึงจะเห็น แบบนี้เราเรียกว่า Featured snippets ค่ะ โดยหลายคนก็เรียกสิ่งนี้ว่าตำแหน่ง 0 ก็คืออยู่เหนือ 1 ขึ้นไปอีก โดยจากคำทั้งหมดในมีการค้นหาใน Google ประมาณ 12% จะมีเจ้ากล่องข้อความนี้ขึ้นมาค่ะ ไม่มีใครรู้แน่นอนว่า Google ใช้อะไรตัดสินใจว่าเว็บไหนจะขึ้นมาในกล่องนี้ได้ แต่ทุกคนก็เห็นตรงกันว่า สุดท้ายแล้วเราก็แค่ต้องพยายามตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ดีที่สุดนั่นเองค่ะ
บางคนก็เรียกมันว่า Heading Tag เอาง่ายๆ มันก็คือโค้ดที่เราระบุว่าส่วนไหนเป็นหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยของเว็บไซต์เรานี่เองค่ะ โดยตัวที่สำคัญที่สุดก็คือ H1 หรือ Header Tag 1 ที่ Google จะดูเป็นหลักเลยว่าหน้านั้นๆ เกี่ยวกับอะไร ดังนั้นอย่าลืมใส่คำที่เราต้องการติดอันดับ ลงไปใน H1 ด้วยนะคะ
Index
Index หรือ Indexing ก็คือการเก็บและจัดการข้อมูลหลังจาก Crawling เรียบร้อยแล้วนั่นเองค่ะ หรือบางทีเวลาเราจะพูดว่าเว็บไซต์นี้ หรือ Keyword นี้ยังไม่เคยติดอันดับใน Google เลย เราก็บอกว่า คำนี้ยังไม่ Index ก็ได้ค่ะ หรือว่าถ้าเว็บเราเคยติด Google แล้ว แต่ว่าโดนเอาออกไปไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแบบนี้เราเรียกว่า De-indexed ค่ะ
Intent
Intent แปลว่าความตั้งใจ ส่วนเวลาเราพูดถึง Search Intent ในมุม SEO ก็คือจุดประสงค์ในการค้นหาหรือความตั้งใจว่าคนที่กำลังค้นหาด้วยคำนี้ ที่จริงเค้าอยากรู้อะไร
เช่น เวลาคนพิมพ์ว่า ชายเหมี่ยง! เค้ากำลังอยากหาร้านที่ชื่อว่าชายเหมี่ยง หรือว่ากำลังหามุก ชายเหมี่ยง เชียงใหม่กันแน่ ถ้าเราเข้าใจว่าคนกำลังหาอะไร ก็จะทำให้เราเขียนบทความที่มีคุณภาพมากขึ้น ตอบคำถามได้ดีขึ้น ซึ่งดีทั้งกับคนอ่าน และการจัดอันดับใน Google เองด้วยค่ะ
Internal links
ปกติแล้วเวลาเราเขียนบทความ ก็จะมีการลิงก์ไปข้างนอกเพื่ออ้างอิงข้อมูลใช่มั้ยคะ? แต่บางทีเราอาจจะอยากอ้างอิงข้อมูลจากบทความของเราเองที่มีอยู่แล้วก็ได้ การลิงก์ไปเว็บของเราเอง จะเรียกว่า Internal Link ค่ะ เช่น ข้อความนี้ ที่เมลิงก์ไปหน้า Contact สำหรับคนที่อยากติดต่อมาพูดคุยกันค่ะ
Inbound Links
Inbound Links ก็คือลิงก์ที่เราได้รับมาจากภายนอก เวลาที่เว็บอื่นๆ มีการลิงก์มาหาเราแบบให้คนคลิกมาได้ค่ะ เป็นอีกชื่อเรียกของ Backlink นั่นเอง
Keyword Difficulty – KD
ถ้าใครได้ใช้เครื่องมือทาง SEO เช่น Moz หรือ Ahrefs ก็อาจจะเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้าง โดย Keyword Difficulty หรือ KD ก็คือการวัดว่าถ้าจะติดหน้าแรกของคีย์เวิร์ดนี้ได้นั้นยากหรือง่ายแค่ไหน โดยแต่ละเว็บไซต์ก็จะมีวิธีการคำนวณต่างกันไปค่ะ
เช่นของ Ahrefs ที่เมใช้เป็นหลัก เค้าจะเอาแค่ Backlink มาคำนวณ หมายความว่าถ้าเว็บที่ติดหน้าแรกมี Backlink เยอะ เราก็ต้องใช้ Backlink เยอะถึงจะติดหน้าแรกได้ คำนั้นก็จะยาก และ KD สูง แต่บางครั้งแม้ว่า KD จะเป็น 0 แต่เรากำลังแข่งกับคู่แข่งที่มี DR/DA ที่ดี คำนั้นก็อาจจะยังยากอยู่ดี ถ้าเรามี DR/DA น้อยกว่ามากๆ
Long-tail Keywords
คำที่เราจะเลือกมาเป็น Keywords นั้นมีหลายประเภท และคำแบบ Long-tail Keywords ก็คือคำที่ค่อนข้างยาว มักจะยาวกว่า 3 คำ และมักจะเจาะจงมากกว่า เช่น การค้นหา “ไข่เจียว” จะเป็น short-tail keyword ส่วนถ้าเป็น Long-tail ก็จะเป็น “ข่าวไข่เจียวหมูสับกรอบๆ ไม่ใส่ผัก” แบบนี้นี่เองงง (Soundtrack ญี่ปุ่น)
Meta descriptions
Meta descriptions คือคำอธิบายที่เราใช้ใน HTML เพื่ออธิบายว่าหน้าเว็บนั้นๆ ของเราเกี่ยวกับอะไร
โดยปกติแล้ว Google จะเอาตัว Meta Description มาแสดงผลเวลาที่เราค้นหาข้อมูลค่ะ อยู่ใต้ลิงก์สีน้ำเงินบนผลการค้นหาค่ะ เช่นตัวอย่างข้างล่างนี้สำหรับบทความของเมเอง ตรงที่วงสีแดงไว้คือตัว Meta Descriptions ค่ะ ถ้าเราเขียนตรงนี้ได้ดี ก็จะทำให้คนคลิกเข้ามาดูเว็บเรามากขึ้น แล้วก็จะทำให้อันดับใน Google ของเราดีขึ้นค่ะ
Noindex tag
อันนี้เป็น Meta Tag หรือโค้ดสั้นๆ ที่เราใส่ลงไปในโค้ดหลังบ้านของเว็บเรา เพื่อให้ Google ไม่เก็บข้อมูลหน้านั้นๆ ไปจัดอันดับค่ะ เช่น อาจจะเป็นหน้าที่เรายังทดสอบอยู่ ปรับไม่เสร็จ อยากรอให้เสร็จก่อน ก็จะเอา Tag นี้ไปใส่ได้ค่ะ
NoFollow
NoFollow คือประเภทของ Backlink ที่ Google ออกมาเพื่อลดปัญหาเรื่องแสปมค่ะ หลังจากตอนแรกๆ มีแค่ลิงก์แบบเดียวคือ Dofollow เพราะพอคนรู้ว่า Backlink ช่วยให้อันดับดีขึ้นได้ ก็เอาลิงก์ไปแปะที่นั่นนี่มั่วไปหมดเลยต้องมีอันนี้ออกมา
No Follow ลิงก์นี้จะไม่ได้ส่งค่าพลัง Backlink มาเพิ่ม PageRank ให้กับเว็บปลายทางด้วย และบางครั้ง Google ก็จะไม่ Crawl ลิงก์แบบนี้ค่ะ แต่ลิงก์แบบนี้ก็ยังมีประโยชน์เพราะช่วยให้โปรไฟล์ Backlink ของเราดูหลากหลาย มีลิงก์หลายๆ แบบอย่างเป็นธรรมชาติค่ะ โดยลิงก์จาก Social Media ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ค่ะ
ตัว No Follow ลิงก์นี้ ในโค้ดหลังบ้านจะมีเขียนข้างๆ ลิงก์ว่า rel=”nofollow” ค่ะ
Organic
ก็คือผักปลอดภัยไร้สารพิษนั่นเอง เอ้ย ไม่ใช่! Organic ก็คือการติดอันดับบน Google โดยที่ไม่ได้จ่ายเงินค่าโฆษณานั่นเองค่ะ อย่างเช่นในภาพด้านล่างนี้ ผลลัพธ์ที่มีคำว่า Ad อยู่ข้างหน้า ก็คือการแสดงผลโฆษณาจากที่เราซื้อ Google Ads ส่วนข้างล่างก็คือผลที่เราทำ SEO เลยติดแบบออแกนิคค่ะ (ส่วนที่วงสีแดงไว้ ก็คือบทความของเราเอง – แอบขายของที่ไม่เนียน เดี๋ยวไปเรียนมาใหม่ค่ะ 😂)
On-page SEO
On-page SEO เรียกอีกอย่างได้ว่า On-site SEO คือกระบวนการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ของเราเองเพื่อช่วยให้อันดับบน Search Engine ดีขึ้น และประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ดีขึ้นค่ะ พูดง่ายๆ ก็คือการทำ SEO แทบทั้งหมดที่ทำบนเว็บของเรา เช่นการทำคอนเทนต์ ปรับหัวข้อ การปรับรูปต่างๆ
Off-page SEO
Off-page SEO เรียกอีกอย่างว่า Off-site SEO คือการทำ SEO เพื่อให้อันดับเว็บของเราดีขึ้น แต่ทำจากข้างนอกเว็บไซต์ค่ะ เช่น การทำ Backlink
Outbound Links
Outbound Link คือลิงก์จากเว็บไซต์ของเราไปเว็บข้างนอกค่ะ เช่นถ้าคุณคลิกบน คำนี้ ก็จะถูกพาไปยัง Google ซึ่ง Outbound Link นี้ปกติแล้วเราจะใช้ในคอนเทนต์เพื่อเพิ่ม Context ให้กับคนอ่าน หรือเพื่อเพิ่มข้อมูลประกอบให้แน่นขึ้น คนอ่านจะตามไปอ่านเพิ่มเติมก็ได้ค่ะ
PageRank
PageRank คือสูตรคำนวณของ Google เพื่อดูว่าเว็บเรามีคุณภาพแค่ไหน โดยดูจากจำนวน Backlink ที่เรามี และคุณภาพของ Backlink พวกนั้นด้วย โดย PageRank นี้ถูกเริ่มเอามาจัดอันดับนานแล้ว และก็ยังเป็นปัจจัยในการจัดอันดับอยู่ เราอาจจะไม่รู้ว่าคะแนน PageRank ของเราเท่าไหร่ แต่เราสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อดูได้ เช่น Ahrefs จะบอก UR/DR ส่วน Moz จะบอก PA/DA ค่ะ ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณของแต่ละเว็บเอง
Query
ก็คือผลไม้นั่นเอง ไม่ใช่ นั่นมันเบอรี่! Query ก็คือคำที่คนใช้ค้นหา หรือว่า Keyword ที่เค้าพิมพ์ลงไปในช่องค้นหาใน Google นี่เองค่ะ
Ranking
Ranking ก็คืออันดับ ว่าเว็บของเราถูกจัดให้อยู่อันดับที่เท่าไหร่ โดย Google ก็จะใช้หลายปัจจัยในการจัดอันดับ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลที่ขึ้นมา ตรงกับความต้องการของคนอ่านให้ได้มากที่สุดนั่นเอง
Referring Domain
Referring Domain คือเว็บไซต์ที่ลิงก์มายังเว็บที่กำลังถูกพูดถึง เช่น Referring Domain ของเว็บเรา ก็คือเว็บไซต์ข้างนอกที่ลิงก์มาเว็บเราค่ะ
Redirect
เป็นธรรมดาที่เวลาเราอัปเดตเว็บไซต์ บางหน้าก็อาจจะหายไป หรือว่าบางทีเราไม่ได้ให้บริการสินค้าหรือบริการนั้นๆ แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะยังมีใครเข้าไปหน้านั้นมั้ย เราก็สามารถทำให้ทุกคนที่เข้าไปในหน้าที่เราไม่อยากให้มีแล้ว ถูกส่งไปหน้าอื่นต่อได้ Redirect ก็คือการที่คนเข้ามาเว็บหน้านั้นแล้ว ถูกส่งต่อไปหน้าอื่น ซึ่งเราสามารถส่งไปแบบถาวร (301 redirect) หรือส่งไปแค่ชั่วคราวก็ได้
SERP
SERP ย่อมาจากคำว่า search engine results page ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือผลลัพธ์ที่ขึ้นมาเวลาเราค้นหาอะไรนี่เองค่ะ ซึ่งคำนี้สามารถแยกออกมาได้อีกหลายๆ อันที่เราเรียกว่า SERP features ซึ่งคือการแสดงผลใน Google ที่ขึ้นมาแบบไม่ใช่เว็บธรรมดา เช่น Featured Snipped
Search Volume
Search Volume คือปริมาณการค้นหาของแต่ละคีย์เวิร์ดค่ะ ปกติแล้วเครื่องมือต่างๆ จะแสดง Search Volume แบบเฉลี่ยรายเดือน และแน่นอนว่าการค้นหาของแต่ละคำก็จะเปลี่ยนไปตลอด ไม่เคยนิ่ง ดังนั้นแล้วเวลาดู Search Volume ก็จะไม่มีทางเป๊ะๆ ได้ เราเน้นดูเป็นไอเดียเท่านั้นค่ะ
SEO
SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization คือการปรับเว็บไซต์คือคอนเทนต์ เพื่อให้ติดอันดับบน Search Engine อย่าง Google Bing หรือ Yendex ค่ะ โดยเป้าหมายของการทำ SEO ก็คือทำให้เว็บไซต์ของเราขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ เวลาที่มีคนค้นหาใน Search Engine อย่าง Google เพื่อสร้าง Organic Traffic หรือคนเข้าเว็บได้แบบฟรีๆ อย่างมีคุณภาพ และยั่งยืน
Search Engine
Search Engine คือซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้เราหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตค่ะ โดย Search Engine นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ Google เท่านั้น แต่ว่ารวมไปถึงตัวอื่นๆ เช่น Bing Yendex Baidu หรือ Yahoo ด้วย แต่เจ้า Google นี้ครองเจ้าตลาด เป็นเว็บไซต์ที่คนเข้ามากที่สุดในโลก และคนบนโลกกว่า 90% ก็ใช้ Google เป็น Search Engine ตัวหลักกันค่ะ
Slug
Slug เป็นส่วนหนึ่งของ URLs เพื่อระบุหน้าของเว็บไซต์ค่ะ ปกติก็จะอยู่หลังชื่อเว็บ เป็นเหมือนรหัสประจำตัวของแต่ละหน้าบนเว็บไซต์ของเรา อย่างเช่นหน้าเว็บที่ทุกคนกำลังอ่านอยู่นี้ มี URL เต็มๆ คือ https://chalakornberg.com/seo-glossary/ และส่วนของ seo-glossary ก็คือ Slug ค่ะ
Slug ที่ดีแนะนำให้เป็นภาษาอังกฤษ สั้น ง่าย ได้ใจความ ประมาณ 3-5 คำ ใช้ขีดกลางขั้น มีคีย์เวิร์ดหลัก ไม่ใช้วันที่ เลขมั่ว ภาษาต่างดาวค่ะ
Spam Score
Spam Score คือ Metrics ที่เครื่องมือทำ SEO อย่าง Moz ใช้เพื่อบอกว่าเว็บของเรามีโอกาสจะโดนลงโทษจาก Google มากน้อยแค่ไหน โดยมีหลายปัจจัยในการคำนวณ
Sitemap
Sitemap ก็คือแผนที่ของเว็บไซต์เรา เป็นลิสของ URL ทุกหน้าที่เรามี เพื่อให้ Google รู้ว่า เรามีหน้าไหนบ้างบนเว็บ โครงสร้างเป็นยังไง แล้ว Google จะได้เอาไปประมวลผลเพื่อจัดอันดับค่ะ โดยการมี Sitemap ที่ดี เข้าใจง่าย ก็จะทำให้ Google เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าเว็บของเราเกี่ยวกับอะไร แล้วจะเอาหน้าไหนมาจัดอันดับดี
ส่วนเว็บเล็กๆ ไม่ต้องกังวลไปค่ะ ไม่ต้องมีอันนี้ Google ก็
URL
URL พูดง่ายๆ มันก็คือลิ้งก์นี่เองค่ะ มันย่อมาจาก Uniform Resource Locators ซึ่งไม่ต้องจำก็ได้ เพราะคนส่วนใหญ่ก็เรียกว่า URL เช่น URL ของเว็บนี้ก็คือ chalakornberg.com แบบนี้ โดยเราจะดู URL ได้ที่ช่องด้านบนแบบตัวอย่างด้านล่างนี้เลย
White hat SEO – สายขาว
สายขาวก็คือสิ่งที่เราได้ตอนเริ่มเรียนเทควันโด้นั่นเอง (พักมุกก่อน) ในมุมของ SEO การทำ White hat SEO หรือ SEO สายขาวนั้น ก็คือการทำตามกฎระเบียบของ Google นั่นเอง นอกจากนั้นแล้วเราจะพลิกแพลง ใช้เทคนิควิธียังไงก็ได้ ซึ่งการทำ SEO สายขาวนั้นอาจจะใช้เวลามากกว่า Black hat สายดำ แต่ผลที่ได้นั้นยั่งยืนกว่า ไม่ต้องกลัวโดน Google ลงโทษ เป็นความสัมพันธ์ที่ดี ยั่งยืนอยู่กันไปนานๆ 🤟
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจศัพท์ SEO มากขึ้น แล้วมาเรียนรู้เรื่อง SEO ไปด้วยกันนะคะ
ติดตามกันไว้ แล้วเมจะคอยอัปเดตเพจนี้เรื่อยๆ อยากได้คำไหนเพิ่มคอมเมนท์ไว้ได้เลย <3 ดูคอร์ส SEO ของเมได้ถ้าสนใจนะคะ ส่วนใครสนใจอยากทำ SEO กับเม ติดต่อมาพูดคุยกันได้นะคะ ส่วนใครอยากติดตามกันไว้ ก็มา Follow กันได้ตาม Facebook ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ 💙
[…] คือหนึ่งในเครื่องมือสำหรับทำ SEO ที่เป็นที่นิยมที่สุด […]