Google Search Console ถือว่าเป็นเครื่องมือตรวจเช็คเว็บไซต์ฟรีที่มีประสิทธิภาพมากค่ะ เพราะใช้เช็คภาพรวมในเว็บไซต์ของเราว่ามีการแสดงผลบน Google อย่างไรบ้าง มอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้ผู้คนหรือไม่ ในบทความนี้จะมาแนะนำว่า Google Search Console คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง พร้อมแนะนำวิธีใช้งานเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ให้กับการทำ SEO ให้เว็บไซต์ของเราถูกใจ User และ Google ไปพร้อม ๆ กัน
Google Search Console คือ เครื่องมือฟรีจาก Google ที่เอาไว้เช็คว่าผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีจากเว็บไซต์ของเราหรือไม่ รู้ว่าคนเข้าเว็บเราจาก SEO เท่าไหร่ เจอเราด้วยคีย์เวิร์ดอะไร Google เก็บข้อมูลเว็บไซต์ได้หรือไม่ หน้าเว็บไซต์รองรับการแสดงผลแบบมือถือไหม หรือมีเว็บหน้าไหนที่พัง (404 Error) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นประสบการณ์จริง ๆ จากผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ของเราค่ะ
การติดตั้ง Google Search Console จะช่วยให้เรานำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ปรับหน้าเว็บให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีที่สุดให้กับคนเข้าเว็บเรา ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำ SEO
การติดตั้ง Google Search Console จะช่วยอุดรอยรั่วต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อเว็บไซต์และผู้ใช้งาน เช่น เว็บไซต์หน้า A ไม่รองรับการแสดงผลแบบมือถือ พอรู้แล้วเราจะได้เข้าไปปรับหน้าเว็บให้รองรับมือถือ เพื่อให้ผู้ใช้งานที่เข้ามายังหน้าเว็บ A ได้รับความสะดวก อ่านง่าย รู้สึกดี ได้ประโยชน์จากคอนเทนต์คุณภาพดีในเว็บไซต์เราไปเต็มที่ การตรวจเช็ครอยรั่วภายในเว็บไซต์ของเรานี่แหละค่ะ ที่มีความสำคัญและจำเป็นกับการทำ SEO เพื่อส่งหน้าเว็บไซต์ที่ตอบโจทย์การใช้งานให้ติดหน้าแรก Google ได้อย่างยั่งยืนในคาราบาว เอ้ย ระยะยาว!
Google Search Console สามารถใช้งานเบื้องต้นได้ดังนี้
1.เข้าไปที่ search.google.com คลิก Start now จากนั้นให้ล็อกอินด้วยบัญชี Google
2.เพิ่มโดเมนใน Property คลิกเลือกแบบ URL-prefix จะได้ง่ายที่สุด
3.ใส่ URL เว็บไซต์ลงไป เช่น https://chalakornberg.com, https://www.chalakornberg.com
4.เลือกวิธียืนยันตามที่ต้องการ แล้วก็กด Verify โดยวิธียืนยันที่ง่ายที่สุดมี 2 แบบ
การติดตั้งด้วยวิธีนี้ง่ายที่สุดแล้วค่ะ ขอเพียงแค่เรามี Edit Access Google Analytics หลังจากกด Verify แค่เพียงหนึ่งคลิกก็เสร็จเรียบร้อย คลิกดูวิธีติดตั้ง Google Analytics ได้ที่นี่
ใครที่ใช้ WordPress ในการสร้างเว็บไซต์ เลือกยืนยันโดยใช้เมตาแท็ก (HTML meta tag) ก็ง่ายเช่นกันค่ะ ไม่ต้องเข้าไปเพิ่มโค้ดผ่าน Hosting ให้ยุ่งยาก ใช้คู่กับปลั๊กอิน WP Code ได้เลย โดย
Tips: หาก Theme ที่เราใช้ไม่มีส่วนของ Header สำหรับใส่ Code ให้ล็อกอินติดตั้ง Plugin WPCode
การติดตั้ง Plugin WP Code เพื่อช่วยติดตั้ง GSC: เข้าไปที่ Plugin -> Add New -> พิมพ์คำว่า WP Code ในช่องค้นหา -> คลิก Install now -> Activate จากนั้นให้เข้าไปที่ WP Code แล้วใส่โค้ด HTML meta tag ในส่วน Header -> คลิก Save
เพียงเท่านี้ เราก็พร้อมใช้งาน Google Search Console เรียบร้อยแล้วค่ะ บอกเลยว่าขั้นตอนนี้ง่ายสุด ๆ แถมไม่ต้องง้อให้ใครติดตั้งให้เราด้วย ถ้ามีคำถามตรงไหน สอบถามได้ที่กรุ๊ป SEO Thailand
วิธีใช้ Google Search Console เบื้องต้นต่อไปนี้ สามารถนำไปปรับใช้กับการทำ SEO ของทุกคนได้ฟรี เพราะเป็นฟีเจอร์พื้นฐานที่มีอยู่แล้วใน Google Search Console โดยจะเล่าตั้งแต่การวัดผล หาไอเดียทำคอนเทนต์ ไปจนถึงการวัดประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์เลย
Performance เป็นเหมือน Report ที่รายงานว่าเว็บไซต์ของเราเป็นอย่างไร โดยจะนับเฉพาะ Organic Traffic หรือการเข้าเว็บไซต์จาก Google เท่านั้น เป็นเหมือนศูนย์รวมในการวัดผลการทำ SEO ละเอียดรายคีย์เวิร์ด เช่น มีคนเจอเว็บเราผ่าน Google กี่ครั้ง กดคลิกมากี่ครั้ง ใช้เป็น Report สื่อสารกับทีมและลูกค้า และจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับแนวทางการทำ SEO ให้หน้าเว็บมีคุณภาพมากขึ้น ได้
2.1 Total click คือ จำนวนคนที่กดคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์เรา (เฉพาะแบบ Organic เท่านั้น)
2.2 Total impressions คือ จำนวนครั้งที่เห็นเว็บไซต์เราบน Google ไม่ว่าจะกดคลิก หรือไม่คลิกเข้ามาที่เว็บไซต์ก็จะถูกนับ
2.3 Average CTR (Click-Through Rate) คือ เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยที่คนกดคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์เรา ส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะหมายความว่าหน้าเว็บเราที่แสดงบนหน้าค้นหา Google ได้รับความสนใจจนผู้ใช้งานกดคลิก เปอร์เซนต์นี้จะคิดโดยเอา Total clicks / Total impressions * 100
ทางเว็บไซต์ backlinko.com เคยพูดว่าโดยเฉลี่ยแล้วถ้าเป็นเว็บไซต์ทั่วไป หากมีค่า CTR มากกว่า 3% ถือว่าดีต่อการทำ SEO แล้วค่ะ แต่ละเว็บไซต์ก็จะมีค่า CTR ที่แตกต่างกันไป ยิ่งเป็น Branded Keyword ค่า CTR ก็จะสูงกว่าปกติ เพราะคนตั้งใจพิมพ์ชื่อเรา เพื่อเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราอยู่แล้ว เวลาดูตัวเลขนี้เลยให้ดูเป็นรายหน้า และรายคีย์เวิร์ด ไม่ใช่ดูรวมทั้งเว็บไซต์เลย เพราะจะเห็นภาพแบบเบลอๆ เหมือนเรื่องเธอที่ไม่ชัดเจน (อาบน้ำมาสิบวันแล้วยังไม่ตอบไลน์เราเลยนะ .-.)
Tips: หนึ่งในวิธีการเพิ่ม CTR คือการเข้าปรับ Title ให้น่าดึงดูดและน่ากดคลิกมากยิ่งขึ้น ลองคลิกดูแนวทางการเขียน Title ที่ดีได้ที่นี่
2.4 Average position คือ อันดับเฉลี่ยเว็บไซต์ที่ติดอันดับ Google ไม่ใช่อันดับคีย์เวิร์ดแบบ Realtime เพราะข้อมูลจาก Google Search Console จะล่าช้าไป 2 วัน มีข้อจำกัดตรงที่จะดูอันดับคีย์เวิร์ดได้แค่ 1,000 คีย์เวิร์ดล่าสุด และเก็บข้อมูลแค่ 16 เดือนย้อนหลังค่ะ
หากต้องการทราบว่าคีย์เวิร์ดที่เราทำ SEO อยู่อันดับที่เท่าไหร่แบบ Realtime การใช้โปรแกรมแท็กอันดับคีย์เวิร์ด เช่น Prorank Tracker, Whatmyserp, SE Ranking ฯลฯ จะช่วยแทร็คข้อมูลได้ละเอียดขึ้น เลือกระบุคีย์เวิร์ดที่ต้องการเน้นเพื่อติดตามอันดับได้ง่าย และดูย้อนหลังได้นานขึ้น
URL inspection มีไว้สำหรับเช็ครายละเอียดหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้า ว่ามีสถานะการแสดงผลเป็นอย่างไร ใครอัปคอนเทนต์ใหม่แต่ค้นหาเว็บไซต์ตัวเองไม่เจอบน Google สักที เราสามารถใช้ URL inspection เช็คได้ค่ะว่าเว็บ Google ให้สถานะเว็บเราเป็นแบบไหน เช่น
หากขึ้นเป็นสถานะอื่น ๆ นอกเหนือจากหน้าเว็บที่ปิดกั้น Google bot (robots.txt) ให้ลองปรับแก้หน้าเว็บจนกว่าจะผ่านการทำดัชนี
หลังจากที่มีการปรับแก้หน้าเว็บไซต์ไป หรือหลังจากที่เราสร้างหน้าเว็บไซต์ใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเรียกให้ Google bot เข้ามาเก็บข้อมูลได้ผ่านการใช้ URL inspection ทำให้ Google เห็นเว็บไซต์เราได้เร็วขึ้น
เช่น หากต้องการให้ Google bot เข้ามาเก็บข้อมูลในบทความ Wayback Machine ที่มีการแก้ไขไป ให้ Copy URL บทความไปวางในช่อง URL inspection จากนั้นคลิก Request indexing
Page Indexing เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้คนทำ SEO รู้ว่าเว็บไซต์หน้าไหนของเราถูกทำดัชนีไปแล้ว หรือยังไม่ถูกทำดัชนี
การทำดัชนี คือ การที่ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์เรา โดยจะสแกนเว็บว่ามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร จากนั้นจะมีการจัดเก็บเว็บไซต์เข้าไปในฐานข้อมูล โดยจะคล้ายกับห้องสมุดขนาดใหญ่ที่แบ่งแยกหมวดหมู่ของเนื้อหาชัดเจน
ส่วนสีเขียว Indexed คือ หน้าเว็บไซต์ที่ถูก Google ทำดัชนีเรียบร้อยแล้ว
ส่วนสีเทา Not indexed คือ หน้าเว็บไซต์ที่ Google ยังไม่จัดทำดัชนี ซึ่งเป็นส่วนที่คนทำ SEO ควรเข้าไปเช็ค ตรวจสอบ และแก้ไขหน้าเว็บเหล่านี้ โดยทาง Google Search Console จะมีบอกเหตุผลให้เรารู้ว่าทำเว็บไซต์หน้านั้น ๆ ถึงไม่ถูกจัดทำดัชนีสักที !
ปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้หน้าเว็บไซต์ไม่ถูก Index มีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
หากต้องการให้หน้าเว็บติด Index เพิ่มขึ้น จำเป็นต้องเข้าไปปรับเนื้อหาในเว็บให้ดียิ่งขึ้น โดยเน้นเนื้อหาที่เป็น Original Content ไม่ซ้ำกับคนอื่น เนื้อหามีคุณภาพ ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานได้จริง ตามแนวทางการทำเนื้อหาแบบ EEAT จากนั้นใช้เครื่องมือ URL inspection เพื่อเรียก Google Bot ให้เข้ามาเก็บข้อมูลใหม่อีกครั้ง ก็จะมีโอกาสไปติด Google มากขึ้น
แต่ก็เป็นธรรมดาของทุกเว็บไซต์ ที่ Google จะไม่ได้เอาข้อมูลไปเก็บไว้ 100% เพราะหลายๆ หน้าเว็บก็อาจจะไม่ได้สำคัญหรือเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ค่ะ เป็นธรรมดาที่จะเห็นหน้าเว็บครึ่งนึงไม่ได้รับการจัดเก็บข้อมูล เราเน้นดูหน้าสำคัญๆ ก็พอ แล้วใช้ URL Inspection มาช่วยเน้นให้ Google สนใจหน้านั้น
Page experience จาก Google เป็นตัวบอกว่าเว็บไซต์ของเรามอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้งานหรือไม่ผ่านเกณฑ์การวัดต่าง ๆ ดังนี้
การสร้างเว็บไซต์ให้ดีต่อประสบการณ์ใช้งาน จะทำให้ผู้ใช้งานได้รับความรู้สึกดีจากการใช้งานกลับไป เพราะเว็บไซต์ของเราโหลดเร็ว ไม่หน่วง เหมือนเป็นรถแข่งพุ่งแรงที่พร้อมรอคนขับมาพาไปชนะ คนขับก็คือคอนเทนต์ที่ดี มีคุณภาพ เป็นประโยชน์กับคนนั่นเอง
Page experience สำหรับ Mobile ประกอบไปด้วย
Page experience สำหรับ Mobile ประกอบไปด้วย
Core web vitals คือ มาตรฐานที่ทาง Google ใช้วัดประสบการณ์การใช้งานหน้าเว็บไซต์ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดอันดับ SEO
โดย Core web vitals ที่แสดงใน Google Search Console จะแบ่ง Report เป็นแบบ Mobile และ Desktop เพื่อให้ผู้ใช้งาน Google Search Console อย่างเรา ๆ ดูข้อมูลได้ง่ายขึ้น ว่าควรปรับ ควรแก้ไขส่วนไหน เพื่อให้เว็บผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด ดูได้ละเอียดแบบทีละหน้า ราย URL เลย
Tips: ปลั๊กอินที่เมใช้เพื่อปรับเว็บ WordPress ให้ผ่านคะแนนตรงนี้ คือ WP Rocket ค่ะ ใช้แล้วเว็บเร็วเลย ไม่พัง ไม่บั๊ค ครบเครื่อง ใช้ง่าย สมัคร WP Rocket ผ่านลิงก์นี้ได้ลด 20% (ส่วนเมได้ใช้ฟรี 2 เดือนล่ะ แปะมือ)
Google ให้ความสำคัญกับการทำหน้าเว็บไซต์ให้รองรับ Mobile Friendly ทำให้มีฟีเจอร์ Mobile Usability ขึ้นมา เพื่อบอกให้เรารู้ว่าเว็บไซต์หน้าไหนที่ไม่รองรับการแสดงผลผ่านมือถือ เช่น เนื้อหากว้างกว่าหน้าจอ ตัวอักษรเล็กไป องค์ประกอบในเว็บที่คลิกได้อยู่ใกล้กันเกินไป ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเข้าไปแก้ไขหน้าเว็บไซต์ได้
สามารถเช็คได้โดยเปิดหน้า Google Search Console -> Performance -> Queries ซึ่งจะแสดงคีย์เวิร์ดต่าง ๆ ที่คนพิมพ์ค้นหาใน Google ก่อนจะเจอ แล้วคลิกเข้ามาในเว็บไซต์ของเรา บอกว่าคนนั้นไปหน้าไหน ฟิลเตอร์ดูรายอุปกรณ์ หรือรายประเทศได้ด้วย เป็นการวัดผลการทำ SEO ของเราได้ในที่เดียว
อย่างที่บอกไปแล้วว่า Google Search Console สามารถดูได้ว่าคนพิมพ์คีย์เวิร์ดอะไรเข้ามาถึงเจอเว็บไซต์เรา ซึ่งส่วนนี้แหละค่ะที่เป็นประโยชน์มาก ๆ เพราะเราสามารถนำเอาคีย์เวิร์ดเหล่านี้ไปเขียนบทความลงในเว็บไซต์ต่อได้
ตัวอย่างเช่น จากภาพมีคนพิมพ์คีย์เวิร์ด “ควรดื่มน้ำวันละกี่ มล” ซึ่งเป็นบทความที่ในเว็บไซต์นี้ยังไม่ทำ จะมีก็แค่การเขียนเป็นข้อความสั้น ๆ แบบไม่ได้เจาะลึกว่าในวันนึงคนเราต้องการน้ำวันละกี่มิลลิลิตร
ซึ่งเราสามารถเอาคีย์เวิร์ด “ควรดื่มน้ำวันละกี่ มล” ไปทำ Research Keyword ผ่านเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ด เช่น Keyword Planner, Uber Suggest ได้
หลังจากนำไปทำ Research Keyword ผ่าน Keyword Planner พบว่า คีย์เวิร์ด “ควรดื่มน้ำวันละกี่ มล” มีจำนวนคนค้นหาต่อเดือนเฉลี่ย 170 ครั้ง/เดือน เราก็ลองไปทำคอนเทนต์ต่อ โดยดูว่า
ซึ่งเราสามารถหาไอเดียเขียนบทความผ่านการใช้ Google Search Console ได้ เหมาะกับช่วงที่ไอเดียตันมาก ๆ ค่ะ แถมคีย์เวิร์ดจากตรงนี้ยังมีโอกาสติดอันดับได้ง่าย เพราะ Google เห็นแล้วว่า เว็บไซต์ของเรามีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดนี้ รอแค่คอนเทนต์ดีๆ เป็นประโยชน์ ตอบโจทย์การค้นหาเท่านั้น
Google Search Console สามารถเช็ค Backlink (อินยั้วแอเรียะ- นั่นแบล็กพิงค์!!) และลิงก์ที่เชื่อมโยงภายในเว็บไซต์เราได้ระดับนึง แม้ว่าจะไม่ละเอียดแบบการใช้ Ahrefs แต่ก็ช่วยเช็คลิงก์ได้เช่นกัน เหมาะกับมือใหม่ที่ทำ SEO สุด ๆ ค่ะ
ซึ่งเราสามารถเข้าไปเช็คลิงก์โดยเข้าไปที่ Search Console -> Links โดยจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับลิงก์ทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้
หลังจากที่สร้างเว็บไซต์ และติดตั้ง Google Search Console เรียบร้อยแล้ว ก็ควรส่งแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) เพื่อให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์เรา
วิธีการส่ง Sitemap สำหรับเว็บระบบ WordPress ที่ติดตั้ง Yoast SEO มีดังนี้
1.1 พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ เช่น https://chalakornberg.com/ แล้วตามด้วย sitemap_index.xml จากนั้นจะปรากฎ XML Sitemap ขึ้นมา
1.2 เข้าไปที่หน้า Google Search Console -> คลิก Sitemaps
1.3 ช่อง Add a new sitemap ให้ใส่ sitemap_index.xml หลังชื่อโดเมน -> คลิก Submit
จากนั้นให้รอ Google Bot เข้ามาอ่านข้อมูลใน Sitemap ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน หากการส่ง Sitemap ไม่มีปัญหาจะขึ้นข้อมูลแบบในภาพด้านล่างค่ะ
หากต้องการให้คนอื่นมีสิทธิ์เข้าถึงการดูข้อมูลผ่าน Google Search Console สามารถเพิ่มสิทธิ์ได้ดังนี้
1.เข้า Google Search Console -> คลิก Setting -> คลิก Users and permissions
2.คลิก Add user
3.เพิ่มอีเมล -> กำหนดสิทธิ์การเข้าถึง
โดยสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล จะมี 3 ระดับ คือ
Google Search Console นับว่าเป็นเครื่องมือฟรีจาก Google ที่ทุกเว็บไซต์ควรติดตั้ง เพื่อให้เราเห็นภาพรวมของเว็บไซต์ว่าเป็นอย่างไร ส่วนไหนต้องปรับเพิ่มเพื่อให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นและส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน นอกจากนี้ Google Search Console ยังช่วยให้เห็นภาพรวมของการทำ SEO อีกด้วย ว่าเว็บเราได้รับความสนใจจากผู้คนมาก-น้อยแค่ไหน คีย์เวิร์ดอะไรที่ดีแล้ว ขาดไป ทำให้ดีขึ้นได้ จะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาปรับ มาพัฒนาต่อ เพื่อให้เว็บไซต์ติดหน้าแรก Google ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ในแบบที่ถูกใจเพื่อนมนุษย์และได้รับความไว้วางใจจาก Google ด้วย